เมนู

เดียว ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. โลกุตตรวิบากเจตนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ,
ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาต-
กัมมปัจจัย.
กิริยาเจตนา ที่เกิดในภูมิทั้งสาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
และจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. ก็กิริยา
เจตนาที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจ
ของสหชาตกัมมปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจ-
ยุบบันในกัมมปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล.
วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย จบ

[15]

วิปากปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก
คือถึงความสุก และหมดกำลังลง กล่าวคือ นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบาก
เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน วิปากปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
เพราะรูปแม้จะเกิดจากกรรม ก็ไม่ชื่อว่าวิบาก ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า วิปากา แล้วตรัสว่า จตฺตาโร ขนฺธา ในพระบาลีว่า
วิปากา จตฺตาโร ขนฺธา. บาลีนี้มาด้วยอำนาจวิปากปัจจัยแห่งอรูปธรรม

เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. แต่ในปัญหาวาระ ย่อมได้วิปากปัจจัยแม้แก่
จิตตชรูปและกัมมชรูปด้วย เพราะพระมาลีมาแล้วว่า ขันธ์ 1 ที่เป็น
วิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 และรูปที่จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วย
อำนาจของวิปากปัจจัย. ขันธ์ที่ 1 ที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3 และกัมมชรูปในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย. แต่
ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาด้วยอำนาจธรรมที่มีส่วน
เหลือ. พรรณนาบาลีในวิปากปัจจัยนี้เพียงเท่านี้.
ก็วิปากปัจจัยนี้ เพราะเป็นวิบากธรรม ว่าโดยชาติมีเพียงชาติเดียว
(คือวิปากชาติ) โดยประเภทแห่งภูมิจำแนกได้ 4 ภูมิ ด้วยอำนาจกามา-
วจรภูมิเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ
ในวิปากปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วนี้.
ก็ในวิปากปัจจัยที่จำแนกได้ดังอธิบายมาแล้ว กามาวจรวิบากและ
รูปาวจรวิบาก เป็นวิปากปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และเป็นวิปากปัจจัย
แก่จิตตชรูปในปวัตติกาล เป็นวิปากปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล.
อรูปาวจรวิบาก เป็นวิปากปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตร-
วิบากเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ. เป็น
ปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในจตุโวการภพ. ผู้ศึกษาพึงทราบ
วินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในวิปากปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.
วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย จบ

[16]

อาหารปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำมา
กล่าวคือ
1. อาหารคือคำข้าว เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ด้วยอำนาจของ
อาหารปัจจัย
2. นามอาหาร เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับนาม-
อาหาร และแก่รูปทั้งหลายที่มีนามอาหารนั้นเห็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจ
ของอาหารปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งอาหารปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อาหารปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
โอชาในรูปที่เกิดในสันตติ 41 ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า กพฬีกาโร
อาหาโร.
ก็เพราะอาหารนั้น บุคคลทำให้เป็นคำแล้ว กลืนกินเข้าไปเท่านั้น
จึงทำกิจแห่งอาหารได้ ที่อยู่ภายนอกหาทำกิจแห่งอาหารไม่ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อาหาโร ตรัสว่า กพฬีกาโร อาหาโร.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า กพฬีกาโร นี้ สักว่าเป็นชื่อแห่งอาหารนั้น เพราะ
เป็นวัตถุที่บุคคลพึงทำให้เป็นคำ ๆ แล้วกลืนกิน. อาหารคือ ผัสสะ เจตนา
และวิญญาณ ชื่อว่า นามอาหาร. รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วในคำนี้ว่า ตํสมุฏฺฐานานํ. สมจริงดังที่พระองค์
ตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า ในขณะปฏิสนธิ อาหารที่เป็นวิปากาพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่เกิดจากกรรม ด้วยอำนาจของอาหาร
ปัจจัย. พรรณนาบาลีในอาหารปัจจัย เพียงเท่านี้.
1. รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน 4 คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร.